ความรู้เบื้องต้นในการพูด
วัตถุประสงค์ในการพูด
1. เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร
2. เพื่อสร้างความเข้าใจ
3. เพื่อให้เกิดความเชื่อ เห็นคล้อยตาม
4. เพื่อให้กระทำตามที่ต้องการ
5. เพื่อบรรยากาศที่ดี
โอกาสในการพูด
1. การพูดต่อที่ชุมชน
2. การพูดปราศรัยในงานต่างๆ
3. การสอน การบรรยาย
4. การนำเสนอ
5. การอภิปราย ปาฐกถา โต้วาที
6. การพูดจูงใจ
7. การประชุม
แบบในการพูด
- ท่องจำ
- อ่านจากร่าง
- พูดตามหัวข้อ
- พูดโดยไม่เตรียมตัว (พูดในสถานการณ์เฉพาะหน้า)
องค์ประกอบในการพูดให้จับใจผู้ฟัง
องค์ประกอบที่สำคัญในการพูดให้จับใจผู้ฟัง มี 3 ส่วน คือ
1. ผู้พูด
ประกอบด้วยเรื่องที่ต้องรู้ดังนี้
- บุคลิกลักษณะ
- การเตรียมตัว
2. เนื้อหา
ประกอบด้วยเรื่องที่สำคัญคือ
- การรวบรวมข้อมูล
- การสร้างโครงเรื่อง
- การใช้ถ้อยคำภาษา
- การใช้สื่อ
- การทดสอบความพร้อม
3. ผู้ฟัง
- วิเคราะห์ผู้ฟัง เพื่อเตรียมตัวพูด
บุคลิกลักษณะที่ดีของผู้พูด
ลักษณะที่ดี 10 ประการของผู้พูด
1. รูปร่างหน้าตา
การดูแลรูปร่างหน้าตาให้ดูดี จะช่วยสร้างความพอใจและความยอมรับจากผู้ฟังหรืออย่าง
น้อยก็ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านจากผู้ฟัง จึงเป็นสิ่งที่ผู้พูดไม่ควรละเลย
เรื่องที่ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา คือ
- ความสะอาด
- ความเรียบร้อย
- การจัดให้ดูดี
2. การแต่งกาย
“ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” ยังคงใช้ได้ สำหรับการเป็นผู้พูดที่ประสบ
ความสำเร็จ เพราะการแต่งกายที่ดี จะนำมาซึ่งความพอใจและความเชื่อถือของผู้ฟัง
การแต่งกายที่ดี ควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
- รูปร่าง
- วัย
- โอกาส
- เวลา
- สถานที่
- การตกแต่งประดับประดาที่พอดี
- การสำรวจตรวจสอบความเรียบร้อย
- ความสุภาพ
3. น้ำเสียง
ผู้พูดต้องพูดเสียไม่เบา หรือดังเกินไป โดยคำนึงถึงสถานที่และ จำนวนผู้ฟัง รู้จักใช้เสียง
หนัก เบา มีท่วงทีลีลาและจังหวะในการพูด มีการเน้นย้ำให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด เพื่อการกระตุ้นผู้ฟังให้สนใจตลอดเวลา
4. สีหน้า
ผู้พูดต้องแสดงสีหน้าให้สอดคล้องกับเรื่องราวที่พูด พูดเรื่องเศร้าสีหน้าต้องเศร้า โกรธ สี
หน้าต้องโกรธ พูดจริง หน้าตาต้องจริงจัง พูดเล่น หน้าตา (น้ำเสียงด้วย) ก็ต้องให้ผู้ฟังรู้ว่าพูดเล่น ฯลฯ ผู้ฟังจะคล้อยตามผู้พูดเมื่อสีหน้าผู้พูดแสดงความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ
5. สายตา
ดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจ ใจของผู้พูดเป็นอย่างไร ตาก็เป็นอย่างนั้น ผู้พูดต้องสบตา
ผู้ฟัง เพื่อให้รู้สึกว่าผู้พูดกำลังพูดกับผู้ฟัง
6. ท่าทาง
ผู้พูดต้องพูดจากใจ มีความจริงใจ พูดจากความรู้สึกจริงๆ ท่าทางก็ออกไปโดยอัตโนมัติ
อย่างไปกำหนดท่าทางว่า พูดอย่างนี้อย่างนั้นแล้ว ต้องแสดงท่าทางอย่างนี้อย่างนั้น จะทำให้การพูดสะดุดไม่เป็นธรรมชาติ แต่พึงระวัง ในระหว่างที่กำลังพูดอย่าล้วง แคะ แกะ เกา จะทำให้ผู้ฟังไปสนใจกิริยาท่าทางดังกล่าว
7. ความเชื่อมั่น
ผู้พูดที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จะแสดงความประหม่าให้ผู้ฟังเห็น นอกจากการพูดจะ
ไม่คล่องแล้ว ความประทับใจของผู้ฟังก็จะไม่เกิดขึ้น ผู้พูดต้องแสดงความเชื่อมั่นให้กับตนเอง คือ ต้องศึกษาหลักการพูด วิเคราะห์ผู้ฟัง เตรียมเนื้อหาและฝึกซ้อมจนพูดได้โดยรู้สึกเป็นธรรมชาติ ปราศจากความประหม่า
8. ความกระตือรือร้น
ผู้พูดที่ดีต้องพูดอย่างมีชีวิตชีวา ไม่เนือย ไม่เฉื่อย เพราะทฤษฎีของการพูดมีอยู่ว่า “ผู้พูด
ต้องเป็นผู้กำหนดท่าทีของผู้ฟัง” นั่นหมายความว่า หากผู้พูดพูดอย่างกระตือรือร้น ผู้ฟังจะ สนใจและกระตือรือร้นในการฟัง
9. อารมณ์ขัน
ผู้ฟังทุกคนต้องการหาความรู้ ต้อการฟังเรื่องที่มีสาระ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องการความ
สนุกสนานด้วย หากผู้พูดมีอารมณ์ขัน และใช้อารมณ์ขันให้เหมาะสม กับเรื่องกับโอกาสแล้ว จะประสบความสำเร็จในการพูดเป็นอย่างยิ่ง ผู้ฟังจะพอใจและประทับใจและมีอารมณ์ร่วมตลอดเวลา อารมณ์ขันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้พูดมีอารมณ์แจ่มใส มองคนมองโลกในแง่ดี สะสมตัวอย่างตลกขำขัน ไว้มากมายสามารถจะดึงมาให้ได้อย่างไม่หมดสิ้น
10. ปฏิภาณไหวพริบ
เพื่อใช้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น การฝึกฝนให้มีปฏิภาณไหวพริบ จะช่วยคลี่คลาย
สถานการณ์ ทำให้เรื่องร้ายกลายเป็นดี หรือผ่อนคลายจากหนักเป็นเบาลงได้
การเตรียมตัวในการพูด
ปัจจัยสำคัญของนักพูดที่ประสบความสำเร็จก็คือ การเตรียมตัว การเตรียมตัวเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ผู้พูดพึงตระหนักและเข้าใจอย่างถ่องแท้ มักจะเคยเห็นกันอยู่เสมอว่านักพูดบางคนเตรียมตัวมาแล้ว แต่เมื่อขึ้นเวทีพูด ก็ยังเกิดความผิดพลาดและความล้มเหลวอยู่ดี ที่เป็นเช่นนี้เพราะการเตรียมนั้นยังไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง
ในการเตรียมการพูด ขอให้พิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
1. ผู้พูดเป็นใคร ?
หมายถึง การวิเคราะห์ตัวผู้พูด 2 ประการ ดังนี้
1.1 ผู้พูดเป็นใครสำหรับผู้ฟัง ต้องวิเคราะห์ว่าตัวเราเป็นดังนี้หรือไม่
- รู้จักกับผู้ฟังดี
- เป็นคนมีชื่อเสียง
- ผู้ฟังเคยฟัง หรือติดตามการพูดมาก่อน
- ไม่เคยได้ยินชื่อเสียงมาก่อนเลย
ถ้าผู้ฟังรู้จัก หรือพอจะรู้จัก ย่อมถือเป็นข้อได้เปรียบในการพูด
1.2 ผู้พูดมีความถนัดในเรื่องที่พูดมากน้อยแค่ไหน มีบุคลิกลักษณะการพูดอย่างไร
- เป็นนักพูดสนุกสนาน สร้างบรรยากาศ
- เป็นนักพูดเอาจริงเอาจัง
- เป็นนักพูดวิชาการ
- เป็นนักพูดแบบพูดไปเรื่อยๆ
2. พูดกับใคร ?
หมายถึง การวิเคราะห์ผู้ฟัง ดังคำกล่าวที่ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะทั้งร้อยครั้ง”
3. พูดอะไร ?
ผู้พูดต้องทราบถึงรายละเอียดของการพูดอย่างชัดเจน ต้องทำความเข้าใจกับหัวข้อที่จะพูดอย่าง
ชัดเจนเพื่อใช้ในการเตรียมการพูด นักพูดที่มีความพิถีพิถัน ในการพูดมักไต่ถามผู้จัดว่าจะ ให้พูดในรายละเอียดไปทางด้านใดบ้าง ผู้ฟังอยากรู้อะไรเป็นพิเศษ เพื่อความสะดวกในการเตรียมการพูดตรงกับความต้องการของผู้ฟัง บางครั้งผู้พูดรับทราบหัวข้อการพูดไม่ชัดเจนนำไปเตรียมตัวตามความเข้าใจของตนเอง อาจทำให้ผิดวัตถุประสงค์ของผู้จัดอย่างสิ้นเชิง
4. พูดเมื่อไร ?
การวิเคราะห์โอกาสและเวลาในการพูดเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ความล้มเหลวในการพูดอาจมีสาเหตุมาจากโอกาสและเวลาของการพูดไม่เหมาะสมก็ได้
แนวทางในการวิเคราะห์ ควรพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
4.1 ความสนใจพิเศษของผู้ฟังมีหรือไม่ การพูดในช่วงที่ผู้ฟังมีความสนใจอะไรอยู่เป็นพิเศษ
ผู้พูดควรดึงเอาเหตุการณ์ที่มีผู้ฟังสนใจมาประกอบกับเรื่องที่พูดอย่างผสมผสานจะเพิ่มความสนใจในเรื่องที่พูดมากยิ่งขึ้น
4.2 พูดเนื่องในโอกาสอะไร เพื่อเตรียมรับสถานการณ์การพูดได้อย่างถูกต้อง
4.3 ลำดับรายการเป็นอย่างไร ก่อนหน้าที่จะมีการพูดรายการนี้ มีรายการอะไรมาก่อน ผู้ฟัง
ประทับใจหรือไม่น่าสนใจ รายการต่อจากการพูดเป็นที่น่าสนใจของผู้ฟังมากน้อยแค่ไหน รายการก่อนหลังนี้ มีผลกระทบถึงจิตใจและอารมณ์ของผู้ฟังให้เปลี่ยนแปลงไปได้
4.4 เวลาที่พูดเป็นเวลาอะไร บรรยากาศในแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่างกัน การพูดในตอนเช้าผู้ฟังยังมีความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า พูดเวลากลางวันอากาศมักร้อน ผู้ฟังบางคนหิวมีอาการกระสับกระส่าย เวลาพูดเวลาบ่ายผู้ฟังมักง่วงเหงาหาวนอน พอตอนเย็นผู้ฟังมักห่วงภาระทางบ้าน และอยากพักผ่อน พูดตอนกลางคืนผู้ฟังมักไม่อยากจะฟัง อยากจะนอน หรืออยากไปเที่ยว การรู้ช่วงเวลาการพูดจะช่วยให้ผู้พูดให้เหมาะสมกับสถานการณ์เวลาในช่วงนั้น
5. พูดที่ไหน ?
ผู้พูดพึงรู้จัก และทำความคุ้นเคยกับสถานที่ที่จะพูดพอสมควร การวิเคราะห์สถานที่ควรยึดหลัก
ต่อไปนี้
5.1 บรรยากาศของสถานที่ ร้อนอบอ้าว หรือมีเครื่องปรับอากาศ มีลดพัดเย็นสบาย ความร้อน
อบอ้าวย่อมทำลายสมาธิของผู้ฟังไปส่วนหนึ่ง
5.2 อุปสรรครบกวน เช่น มีคนพลุกพล่านผ่านเข้าออกตลอดเวลา เสียงรบกวนจากภายนอก
เช่น เสียงรถ เสียงเรือ เสียงเครื่องจักร ฯลฯ
5.3 ความสำคัญของสถานที่ เพื่อความสะดวกในการแต่งกาย การวางตัว
5.4 ความพร้อมของสถานที่ ในเรื่องเครื่องเสียง อุปกรณ์ประกอบการพูดมีครบถ้วนหรือไม่
5.5 ความคุ้นเคยกับสถานที่ ถ้ามีความคุ้นเคยอยู่บ้างย่อมได้เปรียบ แต่ถ้าไม่คุ้นเคยควรหาเวลา
ไปสำรวจก่อนการพูด
6. พูดอย่างไร ?
เมื่อทราบถึงหัวข้อการพูด วิเคราะห์ผู้ฟัง ทราบเวลาและสถานที่พูดเรียบร้อยแล้ว ผู้พูดพึงตัดสินใจ
ว่าจะพูดไปในแนวอย่างไร
วัตถุประสงค์การพูดที่สำคัญมี 4 ประการคือ
6.1 พูดเพื่อการจูงใจ เรียกร้องให้ปฏิบัติตาม
6.2 พูดเพื่อการสอน การบรรยาย
6.3 พูดเพื่อความสนุกสนาน
6.4 พูดเนื่องในโอกาสพิเศษ
ผู้พูดที่มีความคล่องในสถานการณ์ ย่อมสามารถที่จะปรับการพูดให้เป็นไปได้ ในทุกรูปแบบ
ถ้าบรรยากาศไม่ดีผู้ฟังเบื่อหน่าย อาจแก้ปัญหาการพูดให้สนุกสนานปลุกการสนใจ ถ้าการพูดเสียเวลามามากอาจตัดตอนให้สั้นลง หรือถ้าผู้ฟังสนใจและมีเวลาเหลืออยู่ อาจขยายความให้มากขึ้น
การสร้างโครงเรื่อง
อาคารบ้านเรือนที่มั่นคงสวยงามย่อมต้องมีโครงสร้างที่ดีฉันใด การพูดที่ดีที่จับใจทำให้คนสนใจฟังได้อย่างต่อเนื่องก็ย่อมต้องมีโครงเรื่องที่ดีฉันนั้น
โครงเรื่องที่ดีในการพูด ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1. คำนำหรือคำขึ้นต้น
2. เนื้อเรื่อง
3. สรุปจบ
ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ หากทำได้อย่างเหมาะสม จะทำให้คนสนใจได้อย่างแน่นอน
คำนำหรือคำขึ้นต้น
การเริ่มต้นที่ดี สร้างความสนใจให้เกิดขึ้นได้ ย่อมสร้างความศรัทธา ทำให้ผู้ฟังติดตามฟังต่อไป ดังคำกล่าวที่ว่า “การเริ่มต้นที่ดี หมายถึง สำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง” ถ้าเริ่มต้นล้มเหลว ไม่น่าสนใจ ย่อมยามที่จะจุดความสนใจของผู้ฟังขึ้นมาใหม่
ลักษณะการขึ้นต้นที่ล้มเหลว
การขึ้นต้นลักษณะต่อไปนี้ เป็นการขึ้นต้นที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
1. ออกตัว
เพื่อเรียกร้องความเห็นใจจากผู้ฟัง เช่น “ผมมาพูดวันนี้ ผมไม่ค่อยพร้อมเท่าไหร่หรอกครับ
ไม่รู้ตัวล่วงหน้ามาก่อนเลย ควรจำเป็นบีบบังคับให้ผมต้องมาพูด”
2. ถ่อมตน
เพราะเกรงว่าผู้ฟังจะมีความรู้ มีประสบการณ์มากกว่า พยายามลดระดับฐานะความรู้
ความสามารถของตนเอง ฯลฯ ให้ต่ำกว่าผู้ฟัง เช่น “เรื่องที่ผมจะพูดในวันนี้ ผู้ฟังเกือบทุกท่านก็มีความรู้ มีประสบการณ์มากกว่าผมหลายเท่านัก”
3. ขอโทษ ขออภัย
เนื่องจากกลัวว่าจะพูดได้ไม่ดี พูดผิดพลาด ไม่ถูกต้อง ถ้าได้ขอโทษหรือขออภัยไว้ก่อน
ผู้ฟังจะได้ไม่โกรธหรือยกโทษให้ เช่น “ผมเองก็ไม่ค่อยแน่ใจนักว่า สิ่งที่ผมจะพูดต่อไปนี้ จะถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ ถ้ามีส่วนขาดตกบกพร่องไปบ้าง ก็ต้องขอโทษขออภัยท่านผู้ฟังไว้ล่วงหน้าก่อนนะครับ”
4. อ้อมค้อม
อ้างเหตุผลนานาประการที่เป็นเรื่องของตนเอง หรือเหตุการณ์อื่นๆ ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับเรื่องที่พูดเลย เช่น “วันก่อนที่ผมจะมาพูดที่นี่ ผมไปทานอาหารมาครับเป็นอาหารทะเลสดๆ เช้าผมท้องเสีย ถ่ายท้องทั้งวัน จนรู้สึกหมดเรี่ยวแรงแทบจะยืนไม่อยู่”
ลักษณะการขึ้นต้นดังกล่าวนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ฟังเลยแม้แต่น้อย นอกจากจะเป็นการระยายความในใจของผู้พูดออกมาล่วงหน้าไว้ก่อน ตามหลักการพูดถือเป็นการสูญเสียเวลา และทำลายความสนใจของผู้ฟัง ไม่ก่อให้เกิดความศรัทธาจากผู้ฟังแต่ประการใด
เนื้อเรื่อง
เมื่อเริ่มต้นเรื่องได้ดีสร้างความสนใจให้กับผู้ฟังแล้ว การดำเนินเรื่องต้องให้มีความผสมกลมกลืนกับคำขึ้นต้น บางคนเริ่มต้นดีแต่พอถึงเนื้อเรื่อง กลับล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ทั้งนี้ เพราะขาดวิธีการในการดำเนินเรื่องนั่นเอง การดำเนินเรื่องที่ถูกต้อง คือ
1. ดำเนินเรื่องไปตามลำดับ
ไม่วกไปวนมาจนทำให้ผู้ฟังสับสน การดำเนินเรื่องที่เป็นไปตามลำดับ ควรเริ่มจากจุดแรก
ไปสู่จุดสุดท้ายทีละขั้นตอน ผู้ฟังจะสามารถติดตามเรื่องไปได้ตลอด หรือการพูดอาจเริ่มจากเหตุไปสู่ผล หรือเริ่มจากผลนำกลับมาสู่เหตุ แล้วแต่ความเหมาะสม
2. จับอยู่ในประเด็น
เนื้อเรื่องที่พูดต้องอ้างอยู่ในประเด็นของเรื่อง หรือขอบเขตของเรื่องที่กำหนดไว้เสมอ การ
ดำเนินเรื่องออกนอกเขตไปพาดพิงถึงประเด็นอื่นๆ ทำให้เสียเวลาอย่างมาก และผู้ฟังเกิดความสับสนว่า ผู้พูดกำลังพูดเรื่องอะไรกันแน่ การพูดให้อยู่ในประเด็นนี้ควรมีหัวข้อการพูดคร่าวๆ อยู่ในใจ และอธิบายหรือขยายความตามหัวข้อ จะช่วยยึดให้การพูดอยู่ในขอบเขตหรือประเด็นได้มากขึ้น
3. เน้นจุดมุ่งหมาย
เนื้อเรื่องที่ดีต้องมีจุดมุ่งหมายของเนื้อเรื่องที่แน่นอน มีความสอดคล้องกันโดยตลอด ไม่
ขัดแย้งกันเองในจุดมุ่งหมาย การตอกย้ำจุดมุ่งหมายย่อมทำให้เกิดความชัดเจนของเรื่องมากขึ้น คำพูดแบบเลื่อนลอยไม่มีจุดหมายย่อมมีผลกระทบ ทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจไปด้วยหรือถ้าเข้าใจก็อาจเข้าใจผิดพลาดไปจากความประสงค์ของผู้พูด
4. ใช้ตัวอย่างประกอบตามเรื่องราว
บางครั้งผู้ฟังฟังแล้วอาจไม่เข้าใจ ถ้ามีการยกตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนั้นๆ มา
ประกอบจะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจได้มากและง่ายขึ้น การมีตัวอย่างประกอบจึงช่วยให้เนื้อเรื่องมีน้ำหนัก น่าเชื่อ และเห็นภาพพจน์ การสรรหาตัวอย่างควรหาตัวอย่างง่ายๆ ใกล้ตัวผู้ฟัง ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ อุทาหรณ์ หรือเรื่องราวที่เล่าต่อๆ กันมา
5. เร่งเร้าความสนใจ
การเร่งเร้าความสนใจของผู้ฟังนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ ต้องอาศัยศิลปะการพูด การวิเคราะห์
ผู้ฟังเข้ามาประกอบด้วย ถ้อยคำที่น่าสนใจ คำคม การเรียบเรียงดี เป็นปัจจัยในการเพิ่มความสนใจของผู้ฟังให้เพิ่มเป็นลำดับ การสอดแทรกอารมณ์ขันในระหว่างการพูดอย่างเหมาะสม จะช่วยสร้างความสนใจได้ดีเช่นกัน
สรุปจบ
เมื่อขึ้นต้นดี ดำเนินเรื่องได้อย่างกลมกลืน การสรุปจบก็ต้องสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังเป็นการปิดท้าย ผู้พูดบางคนล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการสรุป เหมือนคำกล่าวที่ว่า “ม้าตีนต้น” คือดีหรือเก่งเฉพาะในตอนเริ่มเท่านั้น แต่ตอนท้ายกลับได้ไม่ดีคล้าย “ตกม้าตายตอนจบ” ผู้พูดต้องนึกไว้เสมอว่า ผู้ฟังจะประทับใจให้คะแนนผู้พูดมากหรือน้อยอยู่ที่ตอนสรุปจบด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น